วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของเรื่องขุนช้างขุนแผน

ความเป็นมาของเรื่องขุนช้างขุนแผน
เรื่องขุนช้าง ขุนแผน มีเนื้อความปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งนับเป็นเรื่อง ในพระราชพงศาวดาร เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นวรรณกรรมอมตะ นิทานไทยพื้นบ้านของสุพรรณบุรีมาแต่ช้านาน เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีหลักฐานอยู่ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา( เสภาคือหนังสือกลอนโบราณ ที่นำเอานิทานมาแต่งเป็นกลอนสำหรับขับลำนำ ) ให้ประชาชนฟังเหลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์บางตอนเพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไปหายไป เมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรด ให้กวีหลายท่าน เช่น พระองค์ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓ ) สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้นให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับที่รวบรวมในปัจจุบันมีทั้งหมด 43 ตอน แต่มีอยู่ 8 ตอนที่วรรณคดีสมาคม ซึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นประธานได้ลงมติไว้ใน พ.ศ.2474 ว่าแต่งดีเป็นยอดเยี่ยม ได้แก่
1.ตอนพลายแก้วเป็นชู้นางพิม 5.ตอนกำเนิดพลายงาม
2.ตอนขุนช้างขอนางพิม 6. ตอนขุนช้างถวายฎีกา
3.ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง 7.ตอนฆ่าวันทอง
4.ตอนขุนแผนพาวันทองหนี 8.ตอนพระไวยถูกเสน่ห์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดการฟังขับเสภามาก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้กวีในราชสำนักช่วยกันรวบรวมเรื่องขุนช้างขุนแผน และช่วยกันแต่งเสภาตอนที่ขาดไปตามที่กวีแต่ละคนถนัด พระองค์ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทเสภาขุนช้างขุนแผนทั้งหมด 4 ตอนคือ
ตอนที่ 4 พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม
ตอนที่ 13 วันทองหึงลาวทอง
ตอนที่ 17 ขุนแผนขึ้นเรื่องขุนช้างได้นางแก้วกิริยา
ตอนที่18 ขุนแผนพาวันทองหนี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น